เมย์แบงก์จัดงานประชุมการลงทุนประจำปี Invest ASEAN 2023 วันที่ 20-21 มิถุนายน 2566 ในหัวข้อ “ASEAN Reboot: Reimagining the Future”
Invest ASEAN 2023 เป็นงานที่หลายฝ่ายตั้งตารอและจัดขึ้นตามกลยุทธ์ M25+ ของเมย์แบงก์ โดยหัวข้อของงานปีนี้ ได้แก่ โอกาสในเศรษฐกิจดาวรุ่งของอาเซียน องค์กรนวัตกรรม แนวโน้มการจัดสรรเงินทุน การวางแผนความมั่งคั่งตามหลักอิสลาม อุตสาหกรรมสีเขียว และเทคโนโลยี AI งานในครั้งนี้ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 10 พัฒนาจากการให้บริการนักลงทุน ลูกค้าสถาบัน และลูกค้าองค์กร ไปสู่การดึงดูดบุคคลที่มีทรัพย์สินมากและธุรกิจครอบครัว
ดาโต๊ะ ไครุสซาเลห์ รามลี ประธานและซีอีโอของเมย์แบงก์ กรุ๊ป กล่าวว่า “Invest ASEAN เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นอันยาวนานของเมย์แบงก์ ในการเป็นผู้นำทางความคิดด้านโอกาสของอาเซียน โอกาสที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ อาเซียนได้รับประโยชน์อย่างมากจากการปรับช่องทางการค้าและการลงทุน รวมถึงการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานจากความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน อย่างไรก็ตาม อาเซียนยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการแตกแยกของตลาดโลกและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ธุรกิจต้องพร้อมรับมือกับผลกระทบและตอบสนองต่อโอกาสใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว”
“เราเชื่อมั่นในความสามารถในการฟื้นตัวของภูมิภาคนี้ เรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ที่ไหนและช่วยสนับสนุนให้ธุรกิจเติบโต ตามกลยุทธ์ M25+ ของเรา เราลงทุนสูงถึง 4.5 พันล้านริงกิตมาเลเซีย หรือประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปีเพื่อเร่งการพัฒนาความสามารถใหม่ ๆ ในด้านเทคโนโลยีและบุคลากร เราทำให้แพลตฟอร์มดิจิทัลเหมาะสมกับตลาดภูมิภาค โดยทั้งหมดเน้นที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลางและหลักปฏิบัติที่เน้นความยั่งยืน”
หัวใจสำคัญของหลักด้านความยั่งยืนของเมย์แบงก์คือ การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในสโคปที่ 1 และ 2 ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2593 โดยเรากำลังดำเนินการตามแผนงาน สำหรับสโคปที่ 3 เราทำศึกษาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและร่วมมือกับลูกค้ารายสำคัญเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพวกเขา ประมาณ 70% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มเมย์แบงก์จากการดำเนินงานด้านการเงิน มาจากลูกค้าจำนวนน้อยกว่า 100 รายจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น พลังงานและสาธารณูปโภค น้ำมันและก๊าซ การเกษตรและการก่อสร้าง
“เราเห็นโอกาสที่ชัดเจนของอาเซียนในการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมเหล่านี้ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของเศรษฐกิจในภูมิภาค การปรับเปลี่ยนธุรกิจของพวกเขาจะส่งผลกระทบในหลายภาคส่วน เช่น การสร้างงานใหม่ เศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการเปลี่ยนผ่านสู่การสร้างสังคมที่เท่าเทียมกันมากขึ้น และเพื่อ สนับสนุนลูกค้าในการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เมย์แบงก์ได้ระดมทุน 3.88 หมื่นล้านริงกิต (1.12 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์) ของการจัดหาเงินทุนอย่างยั่งยืนสะสมตั้งแต่ปี 2564 ถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2566 และกำลังดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ 8 หมื่นล้านริงกิต (2.3 หมื่นล้านดอลลาร์สิงคโปร์) ของการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนภายในปี 2568” ดาโต๊ะ ไครุสซาเลห์ รามลี กล่าวเพิ่มเติม
มร. ไมเคิล โอ-เลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเมย์แบงก์ อินเวสต์เมนต์ แบงก์กิ้ง กรุ๊ป กล่าวว่า “เราคาดว่าการลงทุนในพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสีเขียวอื่น ๆ จะยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วในปีนี้และปีต่อ ๆ ไปในอาเซียน โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างยั่งยืน”
“ด้วยมาตรฐานตราสารหนี้ที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนของ ASEAN Capital Market Forum (ACMF) อุตสาหกรรมมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเข้าร่วมในตลาดการเงินที่ยั่งยืน เราคาดหวังที่จะเห็นการออกตราสารที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืนและเครื่องมือเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง นอกเหนือไปจากเครื่องมืออื่นๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม หรือความยั่งยืน เราอยู่ในจุดสำคัญของการเปลี่ยนผ่านของอาเซียน”
หนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของเมย์แบงก์คือ การเป็นผู้นำระดับโลกของธนาคารอิสลามและตลาดทุนอิสลาม ในฐานะธนาคารอิสลามที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกในด้านสินทรัพย์ เมย์แบงก์ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานในฐานะผู้นำและผู้บุกเบิกแนวคิดทางการเงินอิสลามชั้นนำ และได้รับการโหวตให้เป็นธนาคารอิสลามที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิกในช่วง 9 ปีที่ผ่านมา
ดาโต๊ะ ไครุสซาเลห์ รามลี กล่าวว่า “เครื่องมือของเราในการทำให้ธุรกิจธนาคารอิสลามเติบโตคือ การวางแผนความมั่งคั่งตามหลักอิสลามในระดับโลก นี่เป็นจุดเด่นของเมย์แบงก์ที่ได้รับการสนับสนุนจากจำนวนประชากรมุสลิมที่กำลังขยายตัวในอาเซียน และมีความคล้ายคลึงกันระหว่างการลงทุน ESG และการวางแผนความมั่งคั่งตามหลักอิสลาม ในแง่ของวัตถุประสงค์และการดำเนินงาน”
“โอกาสในอาเซียนของเราสำหรับนักลงทุนทั่วโลก การเข้าถึงชุดการลงทุนที่มีคุณภาพและมีจริยธรรมสำหรับการกระจายพอร์ตการลงทุน ด้วยเหตุนี้ เราจึงจะลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการวางแผนความมั่งคั่งตามหลักอิสลาม และพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ พัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ M25+ ของเรา”
ดร. จอห์น ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเมย์แบงก์ สิงคโปร์ กล่าวว่า “ในฐานะกลุ่มบริษัทฯ เราจะใช้ประโยชน์จากความแข็งแกร่งของมาเลเซีย และจะทำให้สิงคโปร์และอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางของการวางแผนความมั่งคั่งตามหลักอิสลามของเมย์แบงก์ โดยมีสำนักงานในสิงคโปร์ เพื่อดึงดูดกระแสการเงินข้ามพรมแดน สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญสำหรับการเป็นตัวกลางของกระแสเงินทุน และได้รับการยอมรับว่าเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของอาเซียนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 50% ของกิจกรรมทางการเงินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในภูมิภาค เมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มเหล่านี้ เราจึงมีความพร้อมที่จะขยายธุรกิจการวางแผนความมั่งคั่งตามหลักอิสลามของเรา ซึ่งเป็นการรวมหลักการ ESG และชะรีอะฮ์เข้าไว้ด้วยกัน”
เมย์แบงก์ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำทางความคิดในอาเซียน โดยนำเสนอมุมมองเชิงมหภาคและมุมมองของตลาด ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวกับ ESG สำหรับลูกค้าผ่านสาขาของเมย์แบงก์ที่มีอยู่ทั่วภูมิภาค Invest ASEAN 2023 ในปีที่ 10 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแพลตฟอร์มสำหรับนักลงทุนรายใหญ่ของภูมิภาค บุคคลที่มีทรัพย์สินมูลค่าสูง ธุรกิจครอบครัว และองค์กรธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วมและเปิดกว้าง โดยงานจะจัดขึ้นสองวันในสถานที่จัดงานที่เดียว อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.maybank.com/investment-banking/asean/investasean/ia2023/index.html